เด็กติดเกมส์

ผลวิจัยชี้ เด็ก-เยาวชน ติดเกม เฉลี่ย 5 ชั่วโมง/วัน ค่าใช้จ่าย 5,000 บาท/เดือน

   ผลวิจัยชี้ เด็กไทยเล่นเกมกว่า 85% ส่วนใหญ่เล่นเพื่อความสนุกสนาน และกว่า 60% เล่น เพราะไม่มีอะไรทำ หนึ่งในสามเล่นเกมทุกวัน เฉลี่ย 5 ชั่วโมง/วัน ส่งผลต่อพฤติกรรม อารมณ์ ผลการเรียน และกว่า 79% ของคนที่เล่น เห็นควรมีกฎหมายกำกับดูแลผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเกม จัดเรตติ้งเกม กำกับการพนัน และกำหนดให้แจ้งค่าใช้จ่ายในการเล่นเกมอย่างโปร่งใส พร้อมส่งมอบข้อเสนอเชิงนโยบายต่อกระทรวงวัฒนธรรม และคณะทำงานสื่อออนไลน์ วุฒิสภา
 

เจาะร่าง ‘กฎหมาย’ กำกับเกม ควบคุมผลกระทบ ‘อีสปอร์ต’

   ในปัจจุบัน กิจกรรมการแข่งขันวิดีโอเกมออนไลน์ชิงรางวัล หรือที่รู้จักในชื่ออีสปอร์ต เป็นความท้าทายต่อสุขภาวะเด็ก เนื่องจากสามารถเข้าถึงเด็กได้โดยตรง และจากการส่งเสริมการขายทำให้เด็กๆ ใช้เวลาที่มากเกินความจำเป็นไปกับการเล่นเกม โดยไม่รู้เท่าทันว่า อาจจะส่งผลกระทบทางลบต่อตนเอง และตกอยู่ภายใต้การสื่อสารเพื่อการโฆษณาอย่างไร้การควบคุม และการจัดการแข่งขันที่ยังขาดข้อกฎหมายและกฎเกณฑ์เพื่อปกป้องคุ้มครอง
 

ร่างแผนปฏิบัติการฯ สานพลัง ปกป้องเด็กไทยจากสื่อออนไลน์

   “คณะทำงานขับเคลื่อนมติเด็กกับสื่อ” ที่มี ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะอเนก เป็นประธาน ถือเป็นฟันเฟืองและกลไกการทำงาน ภายใต้ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคม และสุขภาวะ
 
   เป้าหมายขับเคลื่อน ๒ มติ ได้แก่ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑ เรื่อง “ผลกระทบจากสื่อต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว” และมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๕ เรื่อง “การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ๒๔ ชม. : กรณีเด็กไทยกับไอที” ให้มีความต่อเนื่อง
 

สถานีพัฒนาสังคม: การควบคุมการใช้อินเตอร์เนตและการเล่นเกมของเด็ก

     ...หัวหน้าศูนย์วิจัยมาให้ข้อมูลแนวทางการให้ความคุ้มครองการสร้างเสริมความปลอดภัย และการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รวมถึงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการควบคุมการใช้อินเตอร์เนตและการเล่นเกมของเด็ก ข้อมูลจากการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ การจัดการสภาพแวดล้อมตัวเด็ก ๒๔ ชั่วโมง “กรณีเด็กกับไอที” มีดังนี้ ๑.ปัจจุบันเด็กสามารถเข้าถึงสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพี...อ่านรายละเอียดบทความทั้งหมด