การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA)

ชูธงปฏิรูปการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ขับเคลื่อนสู่ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๘

  สช. เปิดเวทีระดมสมองภาคีเครือข่ายพันธกิจงานเอชไอเอ (HIA Consortium) เพื่อปฏิรูประบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/HIA) หนุนทำรายงานภาพใหญ่เชิงยุทธศาสตร์ก่อนเริ่มโครงการที่ครอบคลุมทุกบริบททั้งสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ ในแต่ละพื้นที่ ดึงบริษัทที่ปรึกษาเข้าเป็นภาคีร่วมดำเนินการ เตรียมเสนอแนวทางต่อ สปช. ก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
 

3 ประเภท 7 พื้นที่ - รางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประจำปี พ.ศ.2557

 “รางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ปี 2557 นี้จึงนับเป็นปีที่ 3 ของโครงการดังกล่าว โดยมีแนวคิดและหลักการสำคัญเพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจ ไม่ใช่การประกวดแข่งขัน อีกทั้งเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคีเครือข่ายที่สนใจนำเครื่องมือ “ธรรมนูญสุขภาพ” “สมัชชาสุขภาพ” และ “เอชไอเอ” ไปใช้เพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
 

HIA ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2250 ที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในกฎหมายไม่กี่ฉบับในประเทศไทยที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุด และเป็นกฎหมายฉบับแรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ซึ่งครอบคลุมทั้ง เรื่องสิทธิ หน้าที่และความมั่นคงด้านสุขภาพ กระบวนการมีส่วนร่วม และกลไกการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา ซึ่งว่าด้วยสิทธิของประชาชนในการร้องขอให้มีและเข้าร่วมกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

HIA ในสถาบันการศึกษา

บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเริ่มขึ้นเมื่อสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้จัดตั้งแผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (แผนงาน HPP-HIA) โดยในปี พ.ศ. 2545 แผนงานฯ ดังกล่าวได้ขยายเครือข่ายการดำเนินงานมายังระดับภูมิภาค โดยมีเครือข่ายภูมิภาคในภาคเหนืออยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคกลางที่ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคใต้ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ประสบการณ์การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในต่างประเทศ

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เป็นหน่วยงานเริ่มต้นและหน่วยงานหลักในการศึกษาวิจัยขั้นพื้นฐานและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในระยะเริ่มแรก รวมทั้งกระตุ้นและเสนอแนะแนวทางให้แก่ประเทศสมาชิก และสถาบันการเงินระหว่างประเทศให้มีความรับผิดชอบต่อการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ซึ่งทำให้มีการนำหลักการและกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยสามารถแบ่งแนวทางการพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพได้เป็น 2 แนวทางหลัก คือ

ประสบการณ์การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในประเทศไทย

ในอดีตการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA) ในประเทศไทยถูกตีความว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ซึ่งเป็นกลไกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ต่อมามีการแก้ไขฉบับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2521 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2522 และฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแก้ไขปรับปรุงในปี พ.ศ. 2535 EIA ตามกฎหมายฉบับนี้มีฐานะเป็นเครื่องมือประกอบการอนุมัติหรืออนุญาตการดำเนินโครงการ

สานพลังเยียวยาชุมชนลุ่มน้ำแม่ตาว ก้าวสู่เขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

    เวทีสานพลังขับเคลื่อนเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมแม่ตาว หนุนภาครัฐเยียวยาชาวบ้านได้รับผล กระทบจากแคดเมียมมานับ ๑๐ ปี สผ. บูรณาการหน่วยงานและชุมชนเข้ามีส่วนร่วม วางกรอบควบคุมและกำกับโรงงานหรือเหมืองแร่ ฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน คาดเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และ ครม. เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน
 
   เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวทีสช.เจาะประเด็น ครั้งที่ ๔/๒๕๕๗ เรื่อง "สานพลัง สร้างสุขภาวะ สู่เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมแม่ตาว" ณ ร้าน Reflection Again ซอยอารีย์ ๓ ถนนพหลโยธิน โดยมีสื่อมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

เอชไอเอชุมชนชี้รฟฟ.ถ่านหินฉะเชิงเทราไม่กันปรอท-โลหะหนัก-VOCs-PAH หวั่นเกษตรอินทรีย์ตกเกณฑ์ มะม่วงแปดริ้วสิ้นชื่อ ย้ำ สผ.ไม่ควรผ่านอีเอชไอเอ ด้านนวก.ยันไฟฟ้าพอใช้

 เมื่อ 15 กันยายนที่ผ่านมาศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) กรณี “การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยชุมชนจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน 600 MW ต.เขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา” ณ หอประชุมใหญ่วิทยาลัยการอาชีพพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีเครือข่ายชุมชน นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 300 คน
 

เรียนรู้เอชไอเอ ผ่านกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือฯ

 
 เครือข่ายนักวิชาการเอชไอเอ (HIA Consortium)  ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมเวทีเรียนรู้เอชไอเอผ่านกรณีศึกษา (HIA Case Conference)
โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือและศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมใน อ่าวไทย ที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช  จัดในวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้องประชุมสานใจ 1  ขั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ภายในกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี
 

ชาวแปดริ้วเผยโรงไฟฟ้าถ่านหิน 600 เมกะวัตต์ ทำลายเกษตรอินทรีย์และแย่งน้ำคลองท่าลาด

   ฉะเชิงเทรา-เปิดข้อมูลการประเมินผลกระทบสุขภาพโดยชุมชน (CHIA) กรณีโรงงานไฟฟ้าพลังความร้อนถ่านหิน 600 เมกะวัตต์ จ.ฉะเชิงเทรา หวั่นผลกระทบจากมลพิษโรงไฟฟ้าบานปลาย สร้างความเสียหายต่อระบบเกษตรอินทรีย์และสวนมะม่วงคุณภาพส่งออกของชาวบ้าน มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท และยังก่อให้เกิดกรณีพิพาทแย่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคระหว่างกลุ่มเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมเพิ่ม หลังข้อมูล จ.ฉะเชิงเทรา ระบุชัดเป็นพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นแหล่งขาดแคลนน้ำ ฟากนักวิชาการหวังเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะช่วยให้ทุกฝ่ายหาข้อตกลงร่วมที่ยุติธรรมต่อทุกฝ่ายได้
 

หน้า