ขับเคลื่อนมติ

ขยับมติ ‘การใช้ยาสมเหตุผล’ สร้างความเข้าใจภาคี – วางบทบาทการขับเคลื่อน

   เริ่มแล้ว! ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ มุ่งสู่ “ประเทศไทยใช้ยาสมเหตุผล” ถกร่วมทำความเข้าใจ 10 ข้อ ก่อนประมวลทิศทางการดำเนินงาน-กำหนดบทบาทเจ้าภาพร่วมกัน
 
   ทุกวันนี้ หลายประเทศกำลังประสบปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรม “การใช้ยาไม่สมเหตุผล” โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า งบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 10-40% ของประเทศทั่วโลก ต้องสูญเสียไปเพราะการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง
 
   WHO ยังระบุอีกว่า มากกว่า 50% ของการใช้ยาในประเทศกำลังพัฒนา เป็นการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมและสูญเปล่า ซึ่งแน่นอนว่า “ประเทศไทย” อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
 

ขับเคลื่อนงาน “อุบัติเหตุ – เมืองแห่งความสุข - ธรรมนูญพระสงฆ์”

   เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจึงต้องมีความต่อเนื่องและหวังผล ซึ่งตลอดระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ทั้งสิ้น 81 มติ กว่าครึ่งเกี่ยวข้องกับ “สุขภาพ สังคม และสุขภาวะ”
 
   เป็นหน้าที่โดยตรงของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ ซึ่งมี ดร.วณี ปิ่นประทีป เป็นประธาน ในการเร่งรัด-ติดตาม-สานพลังบูรณาการ

จัดงานใหญ่ขับเคลื่อน ‘ระบบอาหารโรงเรียน’

   สังคมออนไลน์ช่วงนี้ มีบ่อยครั้งที่เราจะได้เห็นการแชร์ภาพอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ โดยเมนูอาหารเหล่านั้น นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังครบถ้วนไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น
 
   ทว่าในสังคมออนไลน์เดียวกันนี้ มีไม่น้อยเช่นกันที่ปรากฏข่าวและเรื่องร้องเรียนกรณีการทุจริตงบประมาณอาหารกลางวันเด็ก โดยการนำเสนอมักจะมาพร้อมกับภาพเมนูอาหารที่ดูแล้วน่าเป็นห่วง
 

5 ปี ยุทธศาสตร์รวม “แสงเลเซอร์” ขับเคลื่อนสู่พลังชุมชนเข้มแข็ง

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานสถานการณ์ชุมชนเข้มแข็งปี 2562 คาดอีก 5 ปี ระบบสุขภาวะชุมชนของประเทศสามารถพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพที่ดีกว่า 60 % ตามเป้าในหลายองค์กร
 

ล้อมคอก ‘ทันตกรรมเถื่อน’ รุกคืบสังคมไทย

   หลายคนคงเคยได้ยินข่าวการจัดฟันแฟชั่นที่กระจายอยู่ตามห้างสรรพสินค้า-ตลาดนัด ตลอดจนการให้บริการ “เดลิเวอรี” ทำฟันเทียมเถื่อน (ฟันปลอมเถื่อน) ถึงบ้าน ซึ่งมีราคาถูกและง่ายต่อการเข้าถึงนั้น ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้วยัง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
 
   ขณะเดียวกัน การให้บริการทันตกรรมซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ที่บรรจุอยู่ในกองทุนประกันสุขภาพ 3 กองทุน อันได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ ทุกวันนี้ยังมี ‘ความเหลื่อมล้ำ-ไม่เท่าเทียมกัน’
 

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ชื่นชม ‘ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์’

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กราบถวายมุทิตาจิตสักการะสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธิ์ เขมงฺกโร) ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 ฝ่ายบรรพชิต ที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฎ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ย้ำ ‘ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์’ ขับเคลื่อนด้วยดี ช่วย “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ทั้งต่อพระและชาวบ้านในพื้นที่
 

จับมือภาคีเปิดวงขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ
เกาะติด 4PW

   พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราตั้งแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งเข้านอน ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับ NCDs หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แทบทั้งสิ้น
 
   ในแต่ละวันเราจึงสุ่มเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อันประกอบด้วย เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดสมอง มะเร็งชนิดต่างๆ ไม่มากก็น้อย ตั้งแต่หมูปิ้ง-หมูกระทะไหม้เกรียม ไปจนถึงน้ำตาลในกาแฟ น้ำชง ชาไข่มุก หรือความเค็มในมื้ออาหาร ตลอดจนพฤติกรรมเนือยนิ่งบนเก้าอี้ทำงาน และหลังพวงมาลัยรถยนต์
 

ติดอาวุธ ‘ท้องถิ่น’ คุ้มครองสุขภาวะประชาชน ขับเคลื่อนมติ ‘น้ำดื่มปลอดภัย’
น้ำดื่มปลอดภัย

   ระยะเวลาเพียง 2 ปีของการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติ 9.1 น้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน ภายใต้การสานพลังจากทุกภาคส่วนอย่างเข้มข้น ก่อกำเนิดดอกผลให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนับตั้งแต่นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม เรื่อง น้ำดื่มปลอดภัยสำหรับประชาชน ได้รับฉันทมติจากที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2559 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนั้น
 
   ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าการทำงานอย่างจริงจัง มีส่วนสำคัญต่อการ “ลดความเสี่ยง” ของประชาชนที่จะได้รับจาก “ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ” ได้เป็นอย่างดี
 

หน้า