มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

เสนอ ครม. วางยุทธศาสตร์ระดับชาติ ขับเคลื่อนทุกภาคส่วน สกัดปัญหาเชื้อดื้อยา

   สช. ผนึกกำลัง สธ. และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เปิดเวทีรับฟังความเห็นร่าง “แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๑” สอดคล้องมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ ก่อนนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรีในเดือนกรกฎาคมนี้ ผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ รวมพลังหยุดปัญหาเชื้อดื้อยาที่ลุกลามรุนแรงมากขึ้น
 

ชี้ป่วยซึมเศร้าเสี่ยงฆ่าตัวตาย

...โลกประมาณ 1.53 ล้านคน โดยเฉพาะเพศชายจะมีอัตราการฆ่าตัวตายมากกว่าเพศหญิง 3-4 เท่า สำหรับในไทยจากการเก็บข้อมูลทางสถิติการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายพบว่า ลักษณะการฆ่าตัวตายที่พบมากสุดคือ การแขวนคอการดื่มสารเคมีทางการเกษตร และจากการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดอบรมทำหนังสือพบว่าแพทย์ทั่วไปรู้จักโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวชน้อย โดยโรคซึมเศร้ามีอาการหลายแบบ เช่น เบื่อหน่าย ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ท้อแท้ใจ...อ่านรายละเอียดทั้งหมด

หยุดปัญหา ‘ฆ่าตัวตาย’ ที่ต้นเหตุ มุ่งสร้างสุขภาพจิตดีให้สังคมไทย

   ทุกภาคส่วนห่วงปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มสูงขึ้น เร่งขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ “สุขใจไม่คิดสั้น” ดึงชุมชนร่วมแก้ปัญหา ‘กรมสุขภาพจิต’ ขยายบริการทางการแพทย์ เยียวยาผู้ป่วยได้ดีขึ้น เพิ่ม “สุขภาพจิต” เป็นเรื่องใหม่ในร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับใหม่ ด้านอาสาสมัคร หนุนบรรจุเป็นหลักสูตรเรียนการสอน สู้โรคซึมเศร้าในวัยเด็ก ก่อนคิดสั้นฆ่าตัวตาย
 
   เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น “ฆ่าตัวตาย สุขภาวะคนไทยบนปากเหว” ณ ห้องสมุด ๑๐๐ ปี เสม พริ้งพวงแก้ว ชั้น ๑ อาคารสุขภาพแห่งชาติ
 

ร่างยุทธศาสตร์บริการสุขภาพเขตเมือง เชื่อมโยงเครือข่ายให้บริการผู้ป่วย

   “ระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง ที่เข้มแข็ง มีส่วนร่วม ต่อเนื่อง และเชื่อมโยงกัน” ถือเป็นเจตนารมณ์เริ่มต้น สำหรับ คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประเด็น “ระบบสุขภาพเขตเมือง : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม” ที่มี นพ.ชวินทร์ ศิรินาค เป็นประธาน
 
   คณะทำงานฯ ได้มีการประชุมล่าสุด เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้าร่วม เพื่อขับเคลื่อนการทำงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๘
 

ตั้งทีมยกร่างแผนปฏิบัติการ คุ้มครองเด็กไทยใช้สื่อออนไลน์

   คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ ที่มี รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์ เป็นประธาน ได้แต่งตั้ง “คณะทำงานขับเคลื่อนมติเด็กกับสื่อ” โดยมี ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก เป็นประธาน
 
   ทั้งนี้ เพื่อสร้างกลไกการทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ๒ ประเด็น ได้แก่ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ เรื่อง “ผลกระทบจากสื่อต่อเด็กเยาวชนและครอบครัว” และมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ เรื่อง “การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ๒๔ ชม. : กรณีเด็กไทยกับไอที” ให้มีความต่อเนื่อง
 

ปัดฝุ่น...เดินหน้ามติ ‘แร่ใยหิน’ พร้อมหารืออุตสาหกรรมอีกรอบ

   ที่ประชุม คมส. ซึ่งมี ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ยังมีการพิจารณาเรื่อง “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ซึ่งเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓
 
   โดย นพ.ปรีชา เปรมปรี ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ได้รายงานความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคในการขับเคลื่อนมตินี้
 

คมส.หนุนยกระดับมติสมัชชาฯ ขับเคลื่อนสู่ ‘วาระแห่งชาติ’

   เรียกว่าเดินหน้าในทุกๆ มิติ ... สำหรับ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติทั้ง ๘ ครั้ง ที่ผ่านมา บวกลบคูณหารแล้วมีจำนวน ๖๙ มติ โดยกลไกขับเคลื่อนมติที่เรียกว่า “คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” หรือ คมส. ที่มี ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน
 
   ในปีนี้ คมส. มีการประชุมครั้งแรกไปแล้วเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา และล่าสุด เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ ได้มีการประชุม คมส.ครั้งที่ ๒ เพื่อติดตามความก้าวหน้าประเด็นต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
 

เกษตรกรเมืองกระบี่ ก้าวจากแปลง GAP ขึ้นสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ เน้นความยั่งยืนตาวิถีพอเพียง

“ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อน เมื่อเราต้องการบริโภคอาหารปลอดภัยจากสารเคมี ต้องการให้พ่อ แม่ พี่ น้อง ได้กินของที่ปลอดภัย จึงได้วางแผนปลูกพืชผัก ไม้ผลทุกชนิดที่ตัวเราและครอบครัวชอบไว้กินเอง รวมถึงปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราร่วมกับไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ เพื่อเป็นรายได้ ปลูกพืชสมุนไพร ปลูกไม้หายากที่คนอื่นไม่ค่อยปลูกหรือที่เราไม่รู้จักเพื่อไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยตั้งใจว่าจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสาร...อ่านรายละเอียดทั้งหมด

พลิกโฉมมติสมัชชาฯ ด้านสาธารณสุข สานสัมพันธ์ ‘ผู้ป่วย-ญาติ-แพทย์'

   กระบวนการทำงานที่เรียกว่า “ขาเคลื่อน” คือการผลักดันประเด็นที่เป็น มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ตลอด ๘ ปี มีรวมกันถึง ๖๙ มติ ให้เดินหน้าและบังเกิดผลเป็นรูปธรรม...นับเป็นหัวใจสำคัญ ของกระบวนการสมัชชาฯ
 

สลายปัญหาหมอกควัน ตั้งกลไกสนับสนุน-ปรับปรุงกฎระเบียบ

    เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดประชุมปรึกษาหารือ แนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ มติที่ ๒ “ทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ” ณ ห้องประชุมสานใจ ๒ ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ
 
   การประชุมได้รับความความมือ จากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม กว่า ๓๐ คน อาทิ กรมป่าไม้ กรมอนามัย กรมควบคุมมลพิษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิธนาคารต้นไม้ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) เป็นต้น
 

หน้า