สช.

“พัทยา - สช.” จับมือขับเคลื่อน ‘สมัชชาสุขภาพเมืองพัทยา’ วางมาตรการรับมือ ‘นักท่องเที่ยว’ ยุคโควิด-19

   “พัทยา - สช.” ประสานความร่วมมือเตรียมจัด “สมัชชาสุขภาพเมืองพัทยา” หวังจัดทำนโยบายสาธารณะสร้างสมดุลเศรษฐกิจ-สังคม-สุขภาพ พร้อมวางมาตรการรับมือ “เปิดเมืองรับนักท่องเที่ยว”ยุคโควิด-19
 

KICK OFF ธรรมนูญสุขภาพ กทม. สานพลังสร้าง ‘กติกาชุมชน’ เสริมสุขภาวะคนกรุง

   สช. สานพลังภาคียุทธศาสตร์สุขภาพ-สังคม คิ๊กออฟ “ธรรมนูญสุขภาพ กทม.” เดินหน้าสร้างกติกาชุมชนภายใต้กระบวนการการมีส่วนร่วม หวังแก้ปัญหาตามบริบทของพื้นที่ที่มีความแตกต่าง เริ่มนำร่องใน 13 เขต เพื่อกรุยทางสู่เมืองสุขภาวะ
 

ปกป้องอนาคตของชาติจาก ‘ภัยออนไลน์’ เทคโนโลยีที่เข้าถึงง่าย
ปกป้องอนาคตของชาติจาก ‘ภัยออนไลน์’ เทคโนโลยีที่เข้าถึงง่าย

   ท่ามกลางความเจริญทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ภัยเงียบที่แอบซ่อนมาและเข้าถึงกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยอย่างที่ไม่ทันรู้สึกและตระหนักถึงอันตราย คือ “ภัยจากสื่อออนไลน์” ที่กำลังคืบคลานคุกคามต่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชนไทยอย่างรุนแรง กว้างขวาง และรวดเร็ว ทั้งการเสพติดเกมและเสพเนื้อหาที่มีความรุนแรงสู่พฤติกรรมการเลียนแบบ เสพสื่อลามกสู่การล่วงละเมิดทางเพศ การเล่นเกมการเสี่ยงทายสู่การพนันออนไลน์ การกลั่นแกล้งรังแกบนโลกไซเบอร์ (Cyber bullying) สู่ภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ฯลฯ
 

พลังพลเมืองตื่นรู้กับภารกิจขับเคลื่อน ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ วาระแห่งชาติในสมัชชาสุขภาพฯ ปีนี้
พลังพลเมืองตื่นรู้กับภารกิจขับเคลื่อน ‘ความมั่นคงทางอาหาร’

   วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย หลายชุมชนทั้งในเขตเมืองและชนบทต่างต้องหาวิธีจัดการเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากนี้ให้ได้ เนื่องจากปัญหาปากท้องเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม
 

ดัน ‘แบนแร่ใยหิน’ สู่วาระชาติ - ชู สธ. เป็นต้นแบบ ไฟเขียว! แนวขับเคลื่อน ‘มติสมัชชาสุขภาพฯ’ ปี 64 - 65

   คมส. เห็นชอบผลักดัน ‘การแบนแร่ใยหิน’ เป็นวาระแห่งชาติ ให้ สธ.นำร่องหน่วยงานรัฐเป็นต้นแบบ ‘ยกเลิกการใช้แร่ใยหิน’ และให้ประกาศ ‘โรคที่เกิดจากเหตุแร่ใยหิน’ เป็นกลุ่มโรคสำคัญ พร้อมเคาะแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี 2564 - 2565 เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ สร้างพื้นที่กลางเชื่อมโยงข้อมูลและความร่วมมือ หวังสร้างสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน
 

เตรียมจัดสมัชชาสุขภาพกรุงเทพฯ ครั้งแรก บอร์ด สช. หวังจับมือทุกภาคส่วนสร้างเป็นเมืองสุขภาวะของประเทศ

   คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติไฟเขียวจัดสมัชชาสุขภาพกรุงเทพฯ ครั้งแรก โดยตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพทั้งในกทม.และทุกจังหวัด หวังให้เกิดเวทีหยิบยกปัญหาและประเด็นการพัฒนาของแต่ละพื้นที่มาระดมข้อคิดเห็นของทุกภาคส่วน สรุปเป็นนโยบายสาธารณะและสานพลังขับเคลื่อนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
 

สช. เปิดรับฟังความเห็น ‘ข้อถกแถลง’ เดินหน้า ‘สร้างความมั่นคงอาหาร-รับมือโรคอุบัติใหม่’
สช. เปิดรับฟังความเห็น ‘ข้อถกแถลง’ สมัชชาสุขภาพฯ เดินหน้า ‘สร้างความมั่นคงอาหาร-รับมือโรคอุบัติใหม่’

   สช. จับมือภาคีเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “ความมั่นคงทางอาหาร-โรคอุบัติใหม่” เพื่อพัฒนาข้อเสนอสู่การจัดทำระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 โดยภาคีเครือข่ายเสนอตั้ง “ครัวชุมชน-ธนาคารอาหาร” รับมือวิกฤต ด้านอาจารย์แพทย์จุฬาฯ ชงถอดบทเรียนโควิด-19 สู่การทำ “บันทึกการทำงาน” เพื่อใช้รับมือโรคระบาดในอนาคต
 

‘สช. พร้อมภาคีฯ ปักหมุด สู้! โควิด-19’ บทพิสูจน์พลังพลเมืองตื่นรู้ฯ ตอกย้ำศักยภาพ ‘ชุมชน’

   ร่อนตะแกรงความสำเร็จปฏิบัติการ “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19” พิสูจน์ชัด “อำนาจอ่อน” ช่วยหนุนเสริมมาตรการรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ “สช.” ปักหมุดความยั่งยืน เดินหน้ายกระดับจากประชาชนจิตอาสา สู่การมี “สำนึกพลเมือง” ที่รับผิดชอบต่อสังคม
 
   การร่วมหัวจมท้ายของทุกภาคส่วนอย่างเป็นหนึ่งเดียว ทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับ “โควิด-19” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการใช้ “อำนาจอ่อน” (Soft Power) เพื่อหนุนเสริมการทำงานของ “อำนาจแข็ง” (Hard Power) ที่กลายมาเป็นจุดแข็งและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ควรค่าแก่การบันทึกไว้
 

สช.จับมือเครือข่ายต่อยอดมาตรการสู้ ‘โควิด-19’ จ่อทำ ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ กทม. ครั้งแรก!
ทำ ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ กทม.

   สช. ระดม 3 ภาคส่วน “รัฐ-วิชาการ-ประชาชน” ถอดบทเรียนมาตรการชุมชน “สู้ภัยโควิด-19” พร้อมต่อยอดการมีส่วนร่วมสู่การขับเคลื่อน “ธรรมนูญสุขภาพระดับเขต” กทม. เป็นครั้งแรก ผสานกลไก พชข.-กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ปั้นสุขภาวะคนกรุง
 

หน้า