รู้จักและเข้าใจ : การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ


การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรือ เอชไอเอ มาจากคำว่า Health Impact Assessment (HIA) มีพื้นฐานมาจากหลักสิทธิ ธรรมาภิบาล เพื่อการพัฒนา และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่ เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมไปพร้อมๆกัน โดยวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวก และทางลบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาจจะเกิด ขึ้นจากนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรม อย่างใด อย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง หากดำเนินการในช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกัน มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือ ที่หลากหลายและมีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันของหลายภาคส่วน โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่กำหนดตาม พ.ร.บ.สุขภาพ แห่งชาติ เป็นแนวปฎิบัติ 

กลไกในการพัฒนางานเอชไอเอมีการประสานการขับเคลื่อนที่ภาคส่วนต่างๆ มาร่วมกัน โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกเอชไอเอ (HIA Commission) และเครือข่ายพันธกิจงานเอชไอเอ (HIA Consortium) รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนที่สนใจเอชไอเอสามารถรวมกลุ่มกันเพื่อทำการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพได้ตามความสนใจของชุมชน (Community-driven HIA; CHIA) ทั้งนี้มีชุมชนที่ได้ดำเนินการดังกล่าวใน ๒๖ พื้นที่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเป็น ประเด็นนโยบายเหมืองแร่ ๑๑ พื้นที่ นโยบายพลังงาน ๕ พื้นที่ นโยบายแผนพัฒนาภาคใต้ ๗ พื้นที่ และ นโยบายอื่นๆ อีก ๓ พื้นที่

 

นอกจากการดำเนินการประเมินผลกระทบด้าน สุขภาพในประเทศไทยแล้ว ยังมีความจำเป็นใน การประสานงานเอชไอเอ กับประชาคมอาเซียน โดยมีผู้แทนหลักของแต่ละประเทศได้แก่ ASEAN Focal Point on HIA (AFPHIA) รวมถึงเชิญชวน สถาบันการศึกษาให้ร่วมมือกันในการประชุม 6th International Conference on Public Health among the Greater Mekong Sub-Region Countries ทั้งนี้โดยหวังให้มีความร่วมมือระหว่าง ประเทศรองรับการพัฒนาประชาคมอาเซียน เพื่อ ให้มีความพร้อมในความร่วมมือกันในการประเมิน ผลกระทบด้านสุขภาพต่อไป